kritsada1234 http://kritsada.siam2web.com/

บทความเรื่อง>>เริ่มหัดเป็นช่างคอมพิวเตอร์1

อันดับแรกเลยขอแนะนำให้รู้จักกับฮาร์ดแวร์(hardware)กับซอฟแวร์(software)กันก่อนดีกว่า

ฮาร์ดแวร์(Hardware)

มันแปลตรงตัวอยู่แล้วจริงไหมล่ะครับผม ก็คือภาชนะที่แข็ง ใช่ครับมันก็คือพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช่ ๆ กันอยู่นั่นเอง เช่น แรม , ฮาร์ดดิส ,เมนบอร์ด ,พวกการ์ดต่าง ๆ (การ์ดจอ ,การ์ดโมเด็ม ,การ์ดเสียง) ,ซีพียู เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มาประกอบรวมกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เหล่านี้เราเรียกรวม ๆ กันว่า ฮาร์ดแวร์ น่ะครับ

แล้วมันจำเป็นอะไรที่จะต้องรู้ล่ะ!!

 อย่างที่เราทราบกันครับว่ากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่องจะสามารถทำงานได้ มันจะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาร่วมกัน จึงจะสามารถใช้งานได้ คงจะไม่มีใครเอาเพาเวอร์ซัพพลายมาเสียบแล้วเปิดคอมพิวเตอร์เล่นได้โดยไม่มีอุปกรณ์อื่นเลย จริงไหมครับ มันคงทำอะไรไม่ได้หรอก ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทราบถึงการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว เราก็จะสามารถซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองได้ แบบหมู ๆ เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งช่างอีกต่อไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเรารู้แล้วก็ไม่ต้องพึ่งใครเลย อันนี้ก็ไม่เชิงใช่ครับเพราะว่า ปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่มีแค่ฮาร์ดแวร์อย่างเดียว แต่มันรวมทั้งซอฟแวร์ด้วย

ซอฟแวร์ (software)
เครื่องคอมพิวเตอร์หากมีอุปกรณ์ครบถ้วนสมบูรณ์ และทุกชิ้นส่วนก็เป็นของที่ยอดเยี่ยม ใหม่เอี่ยม แต่หากขาดซอฟแวร์ไปแล้วล่ะก็ ทุกอย่างก็ไร้ความหมายไปหมดเลยครับ เพราะซอฟแวร์ มันเป็นส่วนที่ใช้ทำงานและช่วยในเรื่องของการแสดงผลทั้งหมด มันจะเป็นส่วนที่ออกแบบการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด หากใครเคยเรียนรู้เรื่องพวกนี้กันมาแล้วก็คงคุ้นเคยกันดี และยกย่องให้ซอฟแวร์เปรียบเสมือนแม่บ้านที่ช่วยให้เราสามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ถ้าไม่มีซอฟแวร์แล้วล่ะก็  พิมพ์งานไม่ได้ ,เล่นเน็ตก็ไม่ได้ ,ดูหนังก็ไม่ได้อีก ใช่แล้วครับ ซอฟแวร์คือโปรแกรมต่าง ๆ นั่งเอง ซึ่งรวมถึงระบบปฎิบัติการด้วยครับ

ระบบปฎิบัติการ
หรือภาษาคอมพิวเตอร์เรียกกันวา operating system ตัวนี้สำคัญมากที่สุดอย่างนึงน่ะครับผม เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์ได้ก็จะต้องมีระบบปฎิบัติการทั้งสิ้น ไม่ว่าใครก็ตามในโลกนี้ที่ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีระบบปฎิบัติการใช้ จากคนธรรมดาทั่วไป หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ,เว็บมาสเตอร์ แม้กระทั่ง บิลเกต ก็ต้องพึ่งระบบนี้เพื่อติดต่อเป็นศูนย์กลางระหว่าง “ฮาร์ดแวร์ กับ ซอฟแวร์” ซึ่งระบบปฎิบัติการก็มีมากมายหลายแบบให้เราเลือกใช้งานครับ ที่คุ้นเคยกันดีก็ เช่น Windows ,Unix ,Lenux เป็นต้น ซึ่งที่นิยมใช้กันอย่างมากและแพร่หลายคงจะเป็นระบบ Windows เพราะมีรูปแบบการทำงานที่ง่าย อีกทั้งประสิทธิภาพสูงพอสมควรครับ อาจจะมีบ้างที่ใช้ระบบปฎิบัติการอื่น ๆ เพื่อใช้ในการทำงานรูปแบบที่ต่างออกไป เช่น ผู้ให้บริการเว็บโฮสต์ พวก ISP อาจจะใช้การทำงานของระบบปฎิบัติการ Unix เพราะความสะดวกในการใช้งานหลายโหมดหน่อย หลายคนคงรู้จัก Unix เป็นอย่างดี และอีกหลาย ๆ คนก็คงยังไม่รู้จัก หรือไม่ดีนัก เอาเป็นว่า Unix ปัจจุบันบูมคิดว่าเค้าก็นิยมใช้กันมากครับ เพราะระบบนี้เป็นระบบที่มีการผสมผสานระหว่างระบบดอส (DOS) และระบบกุย (GUI) ซึ่งก็เพียงพอสำหรับเรียกร้องความสนใจของผู้ใช้งาน

Dos

มาจากคำว่า Disk Operating System ครับ คือสมัยก่อนนั่นคอมพิวเตอร์จะใช้ระบบนี้ครับ รูปแบบการทำงานจะเป็นลักษณะหน้าต่างสีดำ(หรือแบบอื่นแล้วแต่โหมด) ทำงานโดยการใช้คำสั่งต่าง ๆ ลงไปครับ อ่า..ยกตัวอย่างเช่น

read<filename.txt> เพื่ออ่านไฟล์ที่กำหนดเอาไว้
pending ใช้แสดงคิวของการโอนไฟล์
quit เพื่อออกจากระบบไฟล์นั้น ๆ
ping เพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อของระบบ
Tracert ตรวจสอบแพคเกตการเดินทาง

เหล่านี้ล่ะครับผม คือคำสั่งเคยใช้งานกัน เสียดายบูมไม่ได้ลิ้มลองกับมันมากนัก แต่ยังมีพี่ ๆ หลาย ๆ ท่านที่เคยใช้งานระบบ รูปแบบนี้กันมาแล้วอาจจะลองสอบถามความยากง่ายดู เพื่อเป็นความรู้เสริมไปในตัวครับ

GUI

มาจากคำว่า graphical user interface แปลว่า การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพแทนครับ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกไอคอน (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู ซึ่งมันก็เป็นรูปแบบที่เรา ๆ ใช้งานกันตอนนี้นั่นล่ะครับผม

ต่อมาเราจะรู้จักกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์กันครับ

คอมพิวเตอร์คืออะไร
หลายคนใช้คอมพิวเตอร์ทุกวันยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำไป กับความหมายของมัน มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ให้ความหมายมากมายเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นท่านใดที่กล่าวถึงความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์นี้มา ทั้งหมดนี้รวม ๆ กันแล้วก็คือ เครื่องมือคำนวณในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูล ,คำสั่งต่าง ๆ ผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล และนำข้อมูลต่าง ๆ นั้นมาประมวลผลลัพธ์ที่ผู้ใช้ต้องการ และสามารถเก็บข้อมูลนั้น ๆ ได้ผ่านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล นี่คือความหมายอย่างคร่าว ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
   เครื่องคอมพิวเตอร์มีการแบ่งประเภทการใช้งานเช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่นทั่วไปครับ โดยเราจะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ตามรูปของการทำงาน ซึ่งหากเป็นบริษัทที่ต้องใช้ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงหน่อยก็จะใช้พวก ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน แต่ หากเป็นผู้ใช้งานตามบ้านทั่ว ๆ ไปก็จะใช้ ไมโครคอมพิวเตอร์ desktop compute หรือ โน้ตบุค เป็นต้นครับ



ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)


   
ชื่อมันบอกอยู่แล้วนี่ครับ ว่าซุปเปอร์คือพวกที่เกินปกติ เหอๆ จริง ๆ แล้วซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ และ สมรรถนะ ในการทำงานสูงสุด มันจะสามารถคำนวณเลขทศนิยมด้วยความเร็วสูง สามารถประมวลผลได้หลายร้อยล้านคำสั่งต่อวินาที ด้วยเหตุนี้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงใช้กันเฉพาะการทำงานที่ซับซ้อนอย่างมากเท่านั้น เช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมจากกรมอุตุ เป็นต้น ซึ่งราคาก็แพงมากเหลือเกินครับ ของประเทศไทยก็จะมีอยู่ที่ NECTEC แล้วก็ อินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย สถานที่เหล่านี้จะมีอยู่ครับ




เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)




คอมพิวเตอร์แบบนี้มีความสามารถรองมาจากเครื่องแบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ครับ เครื่องนี้สามารถทำงานได้รวดเร็ว ประมวลผลได้หลายสิบส้านคำสั่งต่อวินาที ซึ่งเหมาะกับการทำงานด้านวิศวรรมศาสตร์ ,วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะผู้ที่จัดเก็บข้อมูลมาก ๆ เช่นธนาคาร เหล่านี้จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้น่ะครับ หรืออาจจะเป็นสำนักงานทะเบียบประชากรมาก ๆ ก็อาจจะใช้คอมพิวเตอร์นี้ในการทำงาน



เวร์คสเตชั่นคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer)



   
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีระดับรองมาจากมินิคอมพิวเตอร์ครับ ส่วนใหญ่จะใช้มากในองค์กรต่าง ๆ มีความสามารถทางด้านเครือข่ายสูงมาก จนไม่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ใช้งานคนเดียว หรือเดี่ยว ๆ อีกทั้งมีรูปแบบกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงมาก อาจจะใช้ในการทำงานกราฟิก 3 มิติระดับภาพยนตร์แบบนี้ได้ดีครับ



คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)




คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ครับ มีความสามารถพอสมควร และเป็นที่นิยมมากที่สุด



คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook)



ปัจจุบันเป็นที่นิยมสูงมากเลย เนื่องจากพกพาง่าย สะดวก เหมาะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย และผู้ทำงานที่ต้องพกพาข้อมูลติดตัวบ่อย ๆ เช่น เลียขา เอ้ยย เลขา อีกทั้งเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้นประหยัดพลังงานมาก แถมมีแบตเตอร์รี่ในตัวอีก ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมิต้องสงสัยเลย



เครื่องปาล์ม (Palm)



   
ปาล์มมีความแตกต่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดนสิ้นเชิงครับ เนื่องจากปาล์มนั้นใช้แค่การเก็บข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ซึ่งก็มีความสะดวกมากเพราะสามารถพกพาติดกระเป๋าได้
   **ปาล์มจะมีระบบปฎิบัติการของตัวเองน่ะครับชื่อว่า “ปาล์มโอเอส (Palm OS)”



เครื่องพ๊อกเก็ตพีชี (Pocket PC)


   
เครื่องลักษณะนี้ออกแบบมาให้มีขนาดพอ ๆ กับปาล์ม แต่การทำงานของเครื่องแบบนี้จะมีความคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า โดยเฉพาะชื่อของระบบปฎิบัติการครับ
   **ชื่อว่า “ไมโครซอฟ พ๊อกเก็ตพีซี” แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ไมโครซอฟ โมบาย” แทนครับ




เครื่องแท็บเล็ตพีซี (Tablet PC)



เครื่องแบบนี้จะคล้ายกับการนำโน๊ตบุ๊คกับพ๊อกเกตมารวมกัน คือจะมีการนำชิ้นส่วนของฮาร์ดแวร์ฝังไปในจอภาพของโน้ตบุ๊ค โดยใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวสั่งงาน



โทรศัพท์มือถือ



อย่างที่เรา ๆ ทั้งหลายทราบกันแล้วว่าปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่นสามารถทำงานในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรือ การเชื่อมต่อต่าง ๆ รวมทั้งสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้ผ่านทางมาตรฐาน GPRS


องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

   คอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดแวร์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันครับ คือ Input และ Output

Input
มันก็คืออุปกรณ์รับนั่นละครับผม ก็เช่นพวก คีร์บอร์ด ,เมาส์

Output   
เมื่อมีเข้ามันก็ต้องออก ใช่แล้วครับ ก็พวก ลำโพง ,หน้าจอ ,เครื่องปริ้น เป็นต้น

Storage
แปลเป็นภาษาเราก็คือ ตัวเก็บข้อมูล ก็เช่น พวก CD ROM ,Floppy Disk ,Hard Disk เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรล่ะ!!

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ๆ มีไม่กี่อย่างครับ มันจะคอยทำงานโดยการสั่งงานของผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะทำการแสดงผลออกมาทางอุปกรณ์ Output นี่คือหลักการของการทำงาน


แต่การทำงานจริง ๆ มันก็จะประมาณนี้ครับ

1.รับคำสั่งจากผู้ใช้ เช่นโปรแกรมต่าง ๆ อาจจะเป็น Nero ,Winamp
2.ระบบปฎิบัติการส่งคำสั่งไปให้กับ CPU
3.CPU จะนำข้อมูลที่ได้รับคำสั่งมาส่งไปให้ฮาร์ดดิสเพื่อเรียกข้อมูลของโปรแกรม
4.ฮาร์ดดิสจะทำการส่งข้อมูลนั้นกลับไปให้กับ CPU อีกครั้ง และส่งข้อมูลต่อไปให้กับแรม เพื่อเก็บค่าที่ได้มา
5.แรมจะทำการส่งข้อมูลที่พักเอาไว้นั้นไปให้ CPU อีกครั้งเพื่อสั่งให้อุปกรณ์แสดงผลทำงาน

---นี่คือการทำงานของเครื่องคอมโดยรวมค้าบบ---

ส่วนประกอบภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.คีร์บอร์ด ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งาน
3.เมาส์ช่วงอำนวยความสะดวกในการเลือกคำสั่งต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน
4.เคส อุปกรณ์ที่ใช้เก็บฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ
*หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า CPU มันคือ เคส แต่ที่จริงมัน
ไม่ใช่ครับ CPU เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กมากของเครื่องคอมพิวเตอร์มันจะอยู่ใต้ฮีตซิงค์ของเครื่องครับซึ่งเราจะรู้จักกันต่อไป

ส่วนประกอบภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.แหล่งกระจายไฟทำหน้าที่ให้พลังงานทั้งหมดกับเครื่องคอมพิวเตอร์
2.หน่วยความจำ เป็นตัวกลางในการรับ / ส่ง ข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ
3.ซีพียู ทำหน้าที่ประมวลผลและคำสั่งที่ได้รับมาทั้งหมด
4.การ์ดแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลการทำงานออกสู่จอภาพ
5.เมนบอร์ด เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ
6.ไดร์ซีดี / ดีวีดี เป็นไดร์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่น ซีดี และ ดีวีดี
7.ฟล็อปปี้ดิสก์ ใช่อ่านเขียนข้อมูลบนแผ่นดิสก์เกตความจุ 1.44MB
8.ฮาร์ดดิส เป็นสื่อในการเก็บข้อมูลทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 6,982 Today: 3 PageView/Month: 3

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...